Financial Pyramid คืออะไร? วิธีการวางแผนการเงิน หนทางเก็บเงินซื้อทองคำแท่งฉบับมนุษย์เงินเดือน

Financial Pyramid หรือ พีระมิดการเงิน คือการเรียงลำดับความสำคัญด้านการเงิน ว่าเราควรโฟกัสหรือให้ความสำคัญกับจุดไหนก่อน เมื่อเราเริ่มมีรายรับเข้ามา ซึ่งถือเป็นวิธีการวางแผนการเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของโลก

หากพูดถึงวิธีจัดระเบียบหรือวิธีการวางแผนการใช้เงินของแต่ละคน เชื่อว่าตั้งแต่เราเด็ก ๆ จนถึงปัจจุบันน่าจะพอเคยผ่านการทำบัญชีรายรับรายจ่ายมากันอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นการออมเงินได้ที่จากค่าขนมที่ได้รับมาจากพ่อ-แม่ หรือการออมเงินเพื่อซื้อสิ่งของบางอย่าง 

แต่เมื่อคุณโตขึ้น เริ่มมีความสามารถในการหารายรับเข้ามาเองแล้ว คุณควรจะต้องมีวิธีวางแผนการใช้จ่าย การเก็บออม และการเริ่มลงทุนที่จริงจังมากขึ้น เพื่อใช้เงินสร้างเงิน ต่อยอดเงินที่มีอยู่ให้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่สนใจในการลงทุนซื้อ ทองคำแท่ง ที่เป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงตลอดเวลา เพื่อการเก็งกำไรแล้ว ควรต้องออมเงินแบบไหน ถึงจะเป็นเจ้าของทองคำแท่งได้

ดังในนั้นบทความนี้ SBK Gold จะพาคุณไปรู้จักกับความหมายของ Financial Pyramid ว่าทำไมถึงเป็นวิธีการวางแผนการเงินที่คนทั่วโลกใช้กัน แล้วมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา จะเริ่มต้นซื้อทองคำอย่างไรดี ไปติดตามกัน

Financial Pyramid คืออะไร ? ทำไมถึงเป็นวิธีการวางแผนการเงินที่ใช้กันเป็นหลักสากล 

Financial Pyramid หรือ พีระมิดการเงิน คือการเรียงลำดับความสำคัญด้านการเงิน ว่าเราควรโฟกัสหรือให้ความสำคัญกับจุดไหนก่อน เมื่อเราเริ่มมีรายรับเข้ามา ซึ่งถือเป็นวิธีการวางแผนการเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของโลก ถูกใช้กันอย่างเป็นสากล 

โดยหลักการของ Financial Pyramid จะมีความคล้ายกับ Maslow's Hierarchy of Needs ทฤษฎีลำดับความต้องการที่แบ่งความต้องการของมนุษย์ (ทฤษฎีมาสโลว์) ที่จะแบ่งความต้องการของคนเราออกเป็น 5 ขั้นได้แก่

ภาพจาก simplypsylogy

ซึ่งใน Financial Pyramid ฉบับเต็มก็จะมีหน้าตาที่เป็น Pyramid สามเหลี่ยมไล่จากล่างขึ้นบนเหมือนกับ Maslow's Hierarchy of Needs แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่ Financial Pyramid จะเกี่ยวข้องกับการเงินโดยเฉพาะ เหมือนเป็นความต้องการพื้นฐานด้านการเงินของมนุษย์ทุกคน

ที่จะเรียงจากรายรับและรายจ่ายในชีวิตประจำวัน การเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน การออมเงิน ไปจนถึงการลงทุน-เก็งกำไรที่มีความเสี่ยงต่าง ๆ แต่สำหรับมนุษย์เงินเดือน หรือผู้ที่เป็นนักลงทุนมือใหม่ เราจะพาไปทำความเข้าใจ ภาพรวม 3 ขั้นหลักของ Financial Pyramid กันก่อนว่าควรเริ่มต้นอย่างไรดี 

ภาพจาก corporatefinancials

วิธีการวางแผนทางการเงิน ฉบับมนุษย์เงินเดือน โดยใช้ Financial Pyramids

สำหรับวิธีการวางแผนการเงิน ฉบับมนุษย์เงินเดือน โดยใช้ทฤษฎี Financial Pyramid นั้นจะมีอยู่ 3 ขั้นหลัก ๆ สำหรับผู้เริ่มต้นเราจะเน้นใน 3 ขั้นแรกของฐานพีระมิดกันก่อน ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เงินออมและเงินสำรอง และขั้นสุดท้ายจะเป็นการลงทุน ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้น มีรายละเอียดดังนี้

1.Protection

อธิบายถึงการใช้จ่ายและ Clash Flow หรือเงินออมในชีวิตประจำวัน ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญที่สุด เพราะหากคุณไม่มีเงินออม เงินเก็บเลย แน่นอนว่าคุณก็จะไม่มีเงินเหลือมาถึงการลงทุน เพราะฉะนั้นอันดับแรกคุณต้องบริหารการใช้จ่ายในแต่ละเดือน ให้พอมีเงินเก็บได้บ้าง จะมาก-น้อย ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตของคุณ ไม่มีการกำหนดขั้นต่ำ 

ซึ่งในส่วนของ Protection จะมีอยู่ 2 ปัจจัยร่วมกัน ประกอบด้วย ความต้องการพื้นฐาน (ฺBasic Needs) และการบริหารความเสี่ยง (Risks Management) กล่าวคือคุณต้องมีเงินเก็บไว้ 1 ก้อน ที่มีหน้าที่เป็นเงินสำรอง สำหรับใช้ในชีวิตประจำวันหรือเอาไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น หากคุณถูกไล่ออกจากงานกะทันหัน ก็ยังมีเงินสำรองไว้ใช้จ่ายในช่วงหางานใหม่ เพื่อให้ไม่ขาดสภาพคล่อง โดยเราแนะนำว่าคุณควรมีเงินเก็บให้มากกว่ารายจ่ายในแต่ละเดือน ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป

หรือความเสี่ยงในกรณีที่คุณเจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ ที่เป็นค่าใช้จ่ายที่เราไม่สามารถกำหนดตัวเลขแน่นอนได้เลย ก็ควรจะต้องมีเงินสำรองไว้ในส่วนนี้ด้วย หรือบางคนอาจเลือกทำประกันสุขภาพ เสริมไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากกรณีเจ็บป่วยก็ได้เช่นกัน

โดยการออมเงินในขั้น Protection ต้องเก็บเงินไว้ในสถานที่ที่สะดวกต่อการเบิกถอนได้ตลอด เช่นบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ก็จะทำให้เมื่อถึงคราวฉุกเฉินที่เราต้องใช้เงิน ก็จะสะดวกในการนำเงินฉุกเฉินก้อนนั้นมาใช้

2.Saving

สำหรับขั้นตอนต่อมาคือขั้นตอนตรงกลางของ Financial Pyramid หรือ Saving คือขั้นตอนที่การออมเงิน เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับตัวคุณเองในอนาคต เป็นทุนในการต่อยอดสู่สิ่งต่าง ๆ ของชีวิต ไว้ซื้อของที่เราอยากได้หรือต้องการ

ส่วนนี้หากพูดถึงเงินออมที่หลายคนนึกถึง ก็คือ เงินเก็บสำหรับวัยเกษียณ เพราะเมื่อคนเราอายุมากขึ้นก็ถึงคราวที่จะต้องปลดเกษียณตัวเอง ยุติบทบาทในการทำงาน ไม่มีรายได้ แต่ยังมีรายจ่ายอยู่ ซึ่งเราก็ต้องมี “เงินเก็บ” ไว้ใช้สำรองในช่วงเกษียณด้วยเช่นกัน

หรือหากใครที่กำลังวางแผนที่จะสร้างครอบครัว เงินออมในขั้นตอนนี้ก็จะเป็นทุนที่สามารถนำไปใช้ในเรื่องต่าง ๆ ได้ เช่นการแต่งงาน อยากมีลูกน้อย ซื้อรถคันแรก การศึกษาต่าง ๆ หรือเงินออมที่ใช้ไปสำหรับความบันเทิงส่วนตัวที่คุณต้องการ ก็จะเป็นเงินออมก้อนนี้แหละที่จะนำไปใช้

โดยในการออมเงินของขั้นตอน Saving นั้นเราแนะนำให้คุณใช้เทคนิคที่เรียกว่า 6 Jars หรือการซอยย่อย การเก็บเงินออกมาเป็น 6 ส่วน (หรือ 6 แก้วโหล) ได้แก่

ภาพจาก millionaireinsideout

ซึ่งถ้าเราแบ่งย่อยการออมเงิน ออกเป็น 6 ส่วนจะช่วยทำให้เราจัดสรรเงินออมของเรา ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น และทำให้เรามีวินัยทางการเงิน ที่จะเป็นเหมือนนิสัยที่บ่มเพราะให้เรารู้จักการเก็บออม ใช้เงินอย่างรู้คุณค่า และนำไปลงทุนต่อยอดให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด 

3.Investment

จากในขั้นตอน Saving หากคุณทำตามวิธีออมเงินที่เราได้แนะนำไปอย่าง 6 Jars จะสังเกตได้ว่าจะมีเงินอยู่ส่วนหนึ่ง หรือในส่วนที่ 3 Financial Freedom Account อิสรภาพการเงิน ที่จะพูดถึงเงินที่จะถูกเก็บไว้ใช้ในการลงทุน 

ซึ่งเงินส่วนนี้ ไม่ใช่เงินที่คุณจะออมเพิ่ม หรือเก็บเพิ่ม แต่จะเป็นเงินที่คุณแบ่งออกมาอย่างชัดเจนแล้ว ตั้งแต่ 2 ขั้นตอนแรก ด้วยอัตรา 10% จากรายได้ทั้งหมด จึงทำให้เงินก้อนนี้เป็นเงินที่เอาไว้ต่อยอดไปสู่การลงทุน ที่จะทำให้คุณได้กำไรกลับมา หรือที่ภาษานักลงทุนจะเรียกว่า ใช้เงินสร้างเงิน

ในขั้นตอนที่ 3 ซึ่งเป็นส่วนบนสุดของ Financial Pyramid อย่าง Investment หลักการก็จะมีความคล้ายกันนั่นก็คือการนำเงินส่วนที่ เราได้แบ่งออกมาจากเงินออมทั้ง 2 ก้อน เพื่อมาใช้เป็น เงินสำหรับลงทุน โดยด้านการลงทุน ก็จะแบ่งการลงทุนออกเป็น 3 รูปแบบ แบบระยะสั้นหรือการเก็งกำไร แบบระยะกลาง 1-3 ปี และแบบระยะยาว ซึ่งแต่ละแบบ มีรายละเอียดดังนี้

SBK Tips : สำหรับใครที่มีเงินออม ที่เหลือมาถึงขั้นตอนของการ Investment แล้วอยากเลือกลงทุนอะไรสักอย่าง แนะนำให้เลือกการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง คือไม่ลงทุนในสินทรัพย์เดียว แต่ให้เฉลี่ยกันสัก 2-3 อย่าง เพื่อกระจายความเสี่ยง กรณีที่การลงทุนที่คุณเลือกไว้ เกิดขาดทุน จะได้มีเงินมาหมุนเวียน ไม่เสียสภาพคล่อง

แนะนำให้เลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่เสื่อมสลายหายไปตามกาลเวลา เช่น ทองคำ กองทุนรวมต่าง ๆ หรือการซื้อหุ้นระยะยาว จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม 

เริ่มต้นเก็บเงินซื้อทองคำแท่งออมความมั่งคั่งให้อนาคต ควรซื้ออย่างไรถึงเหมาะกับไลฟ์สไตล์

เมื่อเราวางแผนการเงินเบื้องต้นที่ชัดเจนมากขึ้นแล้วมาถึงการเลือกแห่งการลงทุนเพื่ออนาคต ซึ่งไลฟ์สไตล์การออมก็แตกต่างกันไปแต่ละคน แล้วจะเริ่มลงทุนยังไงดี วันนี้เราเลยขอนำ 3 วิธีการซื้อทองคำมาฝากกัน

ออมทองตามใจ เงินออมเกินเป้าเมื่อไหร่ค่อยแบ่งไปซื้อทองคำแท่ง

เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนไม่เท่ากัน ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพยายามจนเกินตัวเพื่อซื้อทองคำแท่ง เพราะอาจทำให้คุณขาดสภาพคล่องและเกิดความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นเดือนไหนที่คุณมีรายได้เยอะ ก็ออมเงินส่วนนั้นไป อย่างไม่ต้องรีบร้อน ถ้าเงินออมเกินเป้าเมื่อไร หรือราคาทองลงอยู่ในเกณฑ์ที่คุณสามารถซื้อได้ ก็ค่อยนำเงินก้อนนั้นไปซื้อ

วิธีนี้จะทำให้คุณแบ่งสมดุลของการออม และการใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

ออมประจำทุกเดือน แบ่งเงินซื้อทองคำแท่งทันทีเมื่อมีรายรับเข้ามา

เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ในแต่ละเดือนที่แน่นอน มั่นคง สามารถออมเงินส่วนนี้ เป็นประจำทุกเดือน เพื่อนำไปซื้อทองคำแท่งได้ วิธีนี้จะมีข้อดีคือ ทำให้คุณสามารถซื้อทองคำแท่งได้ไวกว่าวิธีการออมเงินแบบอื่น ๆ เพราะจะเป็นการสร้างกฏเล็ก ๆ ให้ตัวคุณว่า ทุกเดือนต้องเก็บออม โดยทุกครั้งที่มีรายได้เข้ามาก็หักเงินส่วนนั้นออกไปออมไว้ก่อน เมื่อมีเงินออม มากพอก็ค่อยนำเงินส่วนนั้นไปซื้อทองคำแท่งต่อไป 

SBK TIPS : แต่วิธีนี้ควรต้องคำนึงค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนด้วย หากเดือนไหนที่คุณมีความจำเป็นต้องใช้เงินมากกว่าปกติ เช่นต้องการซื้อโทรศัพท์ใหม่ ซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ ก็ต้องบริหารเงินในเดือนนั้น ให้ไม่ขาดสภาพคล่อง จนเกิดความลำบากในการใช้ชีวิต

ออมประจำตามไลฟ์สไตล์ ใช้จ่ายเท่าไหร่หักเปอร์เซ็นต์ % ไปซื้อทองคำแท่งเท่านั้น

ออมทองสนุกทุกยอดค่าใช้จ่ายเพื่อไลฟ์สไตล์ คิดจากค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ เช่นจะออมทองทุก 2% ของยอดค่าใช้จ่าย หรือจากค่าใช้จ่ายความบันเทิงต่าง ๆ ที่เสียไปในแต่ละเดือน วิธีนี้จะช่วยให้คุณมีวินัยในการออมเงินเพื่อซื้อทองคำ เปลี่ยนให้การออมเงินที่ดูน่าเบื่อเป็นเรื่องที่สนุกขึ้น และทำให้คุณสามารถมีเงินออมที่เย็นพอ ที่จะนำไปซื้อทองคำแท่งต่อไป

ภาพจาก esiznews

สรุปทั้งหมด

การวางแผนการเงินและให้ความสำคัญในด้านการลงทุน ไม่ใช่อะไรที่ยากเกินความสามารถของคุณเลย แม้ตอนนี้คุณอาจจะยังไม่มีเงินมากพอสำหรับการออม แต่ขอเพียงแค่คุณรู้จักหลักการการวางแผนการเงินที่ถูกต้อง เมื่อคุณมีรายได้มากพอ ก็นำความรู้ในด้านการวางแผนการเงินที่มีไปประยุกต์กับการออมเงินของคุณ ท้ายที่สุดแล้วเราก็จะมีสถานะทางการเงินที่ดีขึ้นในอนาคต

รวมถึงการซื้อทองคำแท่ง เพื่อเป็นการลงทุน ใช้เงินต่อเงิน ในสินทรัพย์อย่างทองคำแท่ง ที่มีข้อดีตรงที่เป็น Safe Haven สินทรัพย์ปลอดภัยที่มีมูลค่าสูง ไม่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา มูลค่าเพิ่มขึ้นอยู่ตลอด ก็จะเป็นอีกวิธีการลงทุนที่เราอยากแนะนำ สำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนการเงินอย่างรอบด้าน 

ออมทองคำแท่งออนไลน์ถูกใจทุกไลฟ์สไตล์ ผ่านแอปพลิเคชัน SBK Gold สบายคับทุกยอดการซื้อทอง

หากคุณสนใจในการลงทุนทองคำแท่ง แบบออนไลน์ที่มีฟีเจอร์การออมทอง เทรดทอง ซื้อ-ขาย ทองคำแท่งผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อเก็งกำไร คุณสามารถเริ่มต้นลงทุนทองคำแท่งได้ผ่านแอปพลิเคชัน SBK Gold ที่มอบความสะดวกสบายในการซื้อขายได้ทันที ใช้งานง่าย ปลอดภัย 100% 

ด้วยประสบการณ์ดูแลร้านทองมาอย่างยาวนานมากกว่า 15 ปี ซื้อบนแอป แต่ได้ทองคำแท่งจริง ๆ มีหน้าร้าน สามารถเข้ามารับทองคำแท่งได้เลย (ถ.ประชาอุทิศ) ไมว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ซื้อขายคล่องและไม่พลาดกับทุกราคาทองคำที่ดีที่สุด เริ่มต้นเสริมพอร์ตการลงทุนของคุณให้มั่นคงกว่าเดิม

เปิดบัญชีลงทุนทองคำแท่งกับเราได้แล้ว ที่นี่

เปิดบัญชีตอนนี้ ฟรี!

เพียงแค่ 3 ขั้นตอนง่ายๆ คุณก็ได้เป็นเจ้าของทองคำและแอปที่ใช้งานง่ายสุดๆ