ถ้าหากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่อยากจะเริ่มลงทุนทองคำ ก่อนอื่นเราอยากพาคุณมารู้จักกับ แนวรับ-แนวต้าน ที่ส่งผลต่อราคาทองคำ และการทำกำไรของคุณ เพราะสิ่งนี้จะเป็นตัวกำหนดความเคลื่อนไหวของราคา ที่จะทำให้คุณลงทุนได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยยิ่งขึ้น
เพราะแนวรับ-แนวต้าน เป็นอีกปัจจัยหลักของความเคลื่อนไหวในราคาทองคำ ที่คุณจะต้องติดตามอยู่ตลอด รวมถึงเราจะพาคุณไปดูเหตุผลของแนวรับ-แนวต้าน ที่เกิดขึ้น และเทคนิคต่าง ๆ เพื่อเป็นการรับมือต่อความผันผวนของราคา
แถมยังเป็นความรู้พื้นฐานติดตัวไปใช้ในการลงทุนทองคำของคุณให้เป็นไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น ตามไปศึกษาพร้อมกันได้ในบทความนี้เลยครับ
แนวรับ (Support) คือ จุดที่เป็นจุดกลับตัวของกราฟ หรือจุดที่ราคาเคยต่ำที่สุดในช่วงเวลาที่ผ่านมา ก็จะมีแนวโน้มแรงซื้อกลับเข้ามา และทำให้ราคาดีดตัวกลับขึ้นไปซะส่วนใหญ่ แนวรับนี้เองจึงเป็นจุดที่น่าซื้อ เพื่อที่จะทำกำไรในอนาคตสำหรับช่วงราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น
เราจะใช้จุดนั้นเป็นแนวรับ ถ้าราคาลงมาทดสอบจุดนั้นแล้วไม่สามารถผ่านลงมามากกกว่าจุดเดิมได้ แนวรับนั้นจะกลายเป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง (Strong Support) โดยราคาจะลงมาทดสอบอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง ถ้าราคาไม่สามารถผ่านแนวรับเหล่านี้ได้ มันก็จะกลับตัวขึ้นไปอีกครั้ง เนื่องจากมีแรงซื้อเยอะจากราคาทองคำที่ต่ำนั่นเอง
แนวต้าน (Resistance) คือ จุดที่เป็นจุดกลับตัวของกราฟ หรือจุดที่ราคาเคยสูงสุดในช่วงเวลาที่ผ่านมา จึงมีโอกาสที่ราคาจะอ่อนตัวลงมา เนื่องจากมีโอกาสที่ขายทำกำไร เพราะเห็นว่าราคาทองดังกล่าวมีราคาที่สูง จึงเป็นจุดที่นักลงทุนจะชะลอการลงทุน และดูทิศทางในระยะต่อไป เพื่อเป็นการขายทำกำไรนั่นเอง
ราคาทองคำจะมีการทดสอบจุดที่เป็นแนวต้าน เมื่อไม่สามารถผ่านจุดเดิมได้ ก็จะกลายเป็น แนวต้านที่แข็งแกร่ง (Strong Resistance) โดยที่ราคาจะไปทดสอบ 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง หากราคาขึ้นไปถึงจุดต้านเดิม ราคาจะมีการกลับตัวลง เนื่องจากเกิดแรงขายจำนวนมากจากราคาทองที่เพิ่มขึ้น
เนื่องจากกราฟของแนวรับและแนวต้านนั้นมีความไม่แน่นอนอยู่ตลอดเวลา หรือเป็นที่มาของคำกล่าวที่บอกว่า ราคาทองผันผวนอยู่ตลอดนั่นเอง ดังนั้นนักลงทุนทองคำจึงจะต้องศึกษาไว้เพื่อเป็นกลยุทธ์การเข้าออกตลาดได้อย่างปลอดภัยที่สุดครับ
สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิด แนวรับ-แนวต้านนั้น เกิดจากทฤษฏีความกลัวของมนุษย์ และพฤติกรรมที่มีต่อราคา ยกตัวอย่างเช่น เมื่อหลายปีก่อนนั้นราคาทองคำ 1 บาท ราคาอยู่ที่ 10,000 บาท
เมื่อผู้คนเห็นว่าราคาทองคำนั้นมีราคาถูก และมีโอกาสที่ทองคำจะราคาสูงขึ้นได้ในอนาคต จึงได้พากันซื้อเก็บไว้ เพื่อรอขายในเวลาที่ราคาทองนั้นขึ้นสูง และเมื่อผู้คนพากันแห่มาซื้อเยอะ ๆ จึงส่งผลให้ราคาทองคำนั้นขึ้นสูงตามไปด้วย
และเมื่อราคาทองคำนั้นอยู่ในจุดที่บรรดาผู้ซื้อเห็นว่าราคาทองคำนั้นสูงมากแล้ว แล้วกลัวว่าราคาจะไม่สามารถไปสูงกว่านี้ได้อีก เช่น ทองคำขึ้นราคามาอยู่ที่ 15,000 จึงได้พากันเทขายทองคำ (ราคาทองคำ 15,000 บาท นั้นจึงกลายเป็นแนวต้าน)
ในขณะที่ผู้คนแห่เทขายทองคำกันอย่างต่อเนื่อง เมื่อราคาทองคำตกไปยังจุดที่ผู้คนมองว่าราคานั้นลงมาต่ำมากพอแล้ว เช่น ตกลงมาที่ 11,000 บาท จนทำให้มีผู้คนอีกกลุ่มมาซื้อเนื่องจากทองคำนั้นราคาถูก
จึงทำให้เกิดแรงซื้อทองคำนั้นกลับขึ้นมา และทำให้ราคาทองคำกลับขึ้นมาสูงอีกครั้ง (ราคาทองคำ 11,000 บาท นั้นจึงกลายเป็นแนวรับ) โดยพฤติกรรมของราคาทองคำนั้นจะเกิดแบบนี้วนไปเรื่อย ๆ อยู่ตลอดเวลา
แนวโน้ม หรือ Trend คือ ลักษณะการเคลื่อนไหวของกราฟในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่เราต้องการจะดู โดยรูปแบบการเคลื่อนไหวของกราฟนั้นมี 3 รูปแบบด้วยกัน นั่นก็คือ
1.แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) หมายถึง แนวโน้มของราคาที่กำลังปรับตัวสูงขึ้น เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการซื้อเพื่อทำกำไรต่อไป
ลักษณะของแนวโน้มขาขึ้น
- ราคาทองคำที่จุดต่ำใหม่จะสูงกว่าจุดต่ำเก่าเสมอ
- ราคาทองคำที่จุดสูงใหม่จะสูงกว่าจุดสูงเก่าเสมอ
2. แนวโน้มขาลง (Downtrend) หมายถึง แนวโน้มของราคาที่กำลังปรับตัวต่ำลง เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการขายเพื่อทำกำไร
ลักษณะของแนวโน้มขาลง
- ราคาทองคำที่จุดต่ำใหม่จะต่ำกว่าจุดต่ำเก่าเสมอ
- ราคาทองคำที่จุดสูงใหม่จะต่ำกว่าจุดสูงเก่าเสมอ
3. แนวโน้มที่เคลื่อนตัวไปทางด้านข้าง (Sideways Trend) หมายถึง แนวโน้มของราคาที่กำลังเคลื่อนที่ไปด้านข้าง โดยที่ยังจะไม่ไปในทิศทางใดทางหนึ่ง ทำให้เกิดความไม่แน่นอน นักเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จึงไม่เลือกซื้อ-ขายกันในช่วงนี้ แต่บางคนที่เชี่ยวชาญหน่อย ก็อาจจะทำกำไรจากความไม่แน่นอนของแนวโน้มได้จากแนวรับแนวต้าน
ลักษณะของแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางด้านข้าง
- ราคาทองคำจุดต่ำใหม่จะใกล้เคียงกับจุดต่ำเก่า
- ราคาทองคำจุดสูงใหม่จะใกล้เคียงกับจุดสูงเก่า
Breakout คือ การที่กราฟมีการเปลี่ยนแนวโน้มของราคา หรือการที่มีราคาทะลุแนวรับนั่นเอง เกิดจากราคาที่มีแรงซื้อหรือแรงขายมาก จนทะลุราคาสูงสุดหรือต่ำสุดของเดิม (แนวรับ-แนวต้าน) ลักษณะอาการของกราฟนี้จึงถูกเรียกว่าเกิดการ Breakout
ดังนั้นเทคนิคแบบนี้จะถูกนำไปใช้ส่วนใหญ่ใน trade setup เพราะเป็นวิธีหนึ่งที่เทรดเดอร์มักใช้ โดยจะซื้อเมื่อกราฟทะลุแนวต้านของกรอบราคา หรือจะซื้อเมื่อแนวการตัดสินใจที่วางไว้สามารถต่อยอดไปได้
ประโยชน์ของการใช้ค่า Breakout
- ช่วยให้ใช้เป็นข้อมูลในการเปิดสัญญาได้
เมื่อราคาเกิดการ Breakout เราสามารถเปิดสัญญาเพื่อจะทำการติดตามทิศทางของราคาได้เลยทันที เพราะโดยปกติแล้ว เมื่อราคาทำการ Breakout แล้ว ราคาจะวิ่งต่อไปค่อนข้างที่จะแรงมาก ๆ ราคาของสินทรัพย์จะวิ่งแรงขึ้นเรื่อย ๆ จากนั้นให้เปิดสัญญาการติดตามได้เลย เพราะมันเป็นนาทีทองที่จะสร้างโอกาสของการทำกำไรได้มาก โดยที่ไม่ต้องวิเคราะห์อะไรมาก หลายคนที่เลือกวิเคราะห์ Breakout ก็จะพบจุดเปิดสัญญาและมีโอกาสทำกำไรได้เยอะมากยิ่งขึ้น
- ช่วยให้สามารถทำกำไรก้อนใหญ่ได้
ถ้าหากเราพบ Breakout แล้ว และเปิดสัญญาตามได้ทัน ก็สามารถที่จะทำการติดตามไปได้ทันที ส่งผลให้เรานั้นสามารถทำกำไรก้อนใหญ่ได้นั่นเอง
ก่อนจะลงทุนทองคำจำเป็นอย่างยิ่งที่นักลงทุนต้องติดตามข่าวสารแนวทางเศรษฐกิจ หรือเหตุการณ์บ้านเมืองต่าง ๆ เพื่อรับรู้ความเคลื่อนไหวของทองคำ และแนวรับ-แนวต้าน ที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวของราคาทองคำ เพื่อให้คุณได้ลงทุนได้อย่างปลอดภัย แถมยังสร้างกำไรได้ดีด้วย
ในปัจจุบันสามารถลงทุนซื้อ-ขายทองคำ ได้อย่างสะดวกสบายมาก และถ้าหากคุณต้องการลงทุนทองคำแบบปลอดภัย และเชื่อถือได้นั้น เราขอแนะนำ SBK แอปพลิเคชันซื้อ-ขาย ทองคำแท่งออนไลน์แบบ Real Time เพื่อให้คุณสามารถ ซื้อ-ขายทำกำไรได้ทันทีตามความต้องการ และพิเศษเครดิตล่วงหน้า T+3 ที่สามารถทำกำไรได้ก่อน จ่ายทีหลัง พร้อมให้บริการแล้ววันนี้ ที่นี่
เพียงแค่ 3 ขั้นตอนง่ายๆ คุณก็ได้เป็นเจ้าของทองคำและแอปที่ใช้งานง่ายสุดๆ