IMF คืออะไร มีผลอย่างไรต่อการลงทุนทองคำ?

นักลงทุนทองคำจำเป็นต้องติดตามความเคลื่อนไหวของราคาทองคำที่เกิดจากหน่วยงานต่าง ๆ และ IMF ก็เป็นหนึ่งในนั้น

เหล่านักลงทุนหรือแม้กระทั่งผู้ที่เพิ่งหันมาเริ่มการลงทุนในทองคำนั้น น่าจะพอทราบอยู่แล้วว่า ปัจจัยต่างๆที่ทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เช่น เหตุการณ์การเมือง หรือสถานการณ์โรคร้ายต่างๆ ที่ทำให้ราคาทองคำมีโอกาสผันผวนอยู่ตลอด 

ก่อนอื่นนั้นต้องบอกก่อนว่านอกจากจะมีหลายเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุนแล้ว ก็ยังมีข้อมูลตามสมาคมหรือการดูค่าเปอร์เซ็นต์ต่างๆ จากช่องทางอื่นด้วยเช่นกัน ซึ่งก็จะมีที่มาและประโยชน์แตกต่างกันไป

ในบทความนี้เราจะยกตัวอย่างอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญนั่นก็คือความหมายของ IMF เพื่อทำให้คุณไม่พลาดแหล่งข้อมูลสำคัญที่ส่งผลให้กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ และเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนของคุณ หากพร้อมแล้ว เรามาดูไปพร้อมกันเลยครับ

IMF คืออะไร ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด?

IMF (International Monetary Fund) หรือเรียกกันง่ายๆก็คือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาของประเทศต่างๆที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ที่เรามักได้ยินตามข่าวกันว่า หนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาของประเทศเหล่านั้นก็คือการกู้เงินจาก IMF

โดยแนวคิดการก่อตั้งนั้นเกิดจาก การประชุมเรื่องการงานและการคลังสหประชาชาติ หรือ (United Nations Monetary and Financial Conference) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้เข้าประชุมที่เห็นด้วยในการจัดตั้ง IMF จากหลายประเทศ

เพื่อเป็นกรอบสร้างความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจในการหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนของการแข่งขันด้านการลดค่าเงิน ซึ่งมีส่วนช่วยกู้วิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นอกจากนี้ IMF ยังมีอีกหลายประโยชน์มากมาย 

เช่น มีหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ,เสริมสร้างเสถียรภาพในการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ,สนับสนุนการจัดตั้งระบบชำระเงินระหว่างประเทศ และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน 

ส่วนที่มาของแหล่งเงินทุนมากมายมหาศาลที่ให้แต่ละประเทศได้กู้จากความขัดสนนั้น มาจากประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใน IMF ซึ่งประเทศทั้งหมดที่เป็นสมาชิกในธนาคารโลก ก็คือประเทศที่อยู่ในกลุ่มของ IMF ด้วยเช่นกัน

โดยประเทศที่ขาดดุลการชำระเงิน หรือชำระหนี้ไม่ไหวนั้น จะได้รับโควตาด้วยการกู้เงินจากประเทศที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง ภายใต้ความตกลงการให้กู้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศนั่นเอง 


ทำไม IMF ถึงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและราคาทองคำ ?

เนื่องจาก IMF คือกองเงินทุนระหว่างประเทศ โดยจะมีแหล่งเงินทุนให้กู้เพื่อให้ความช่วยเหลือในกรณีสำหรับประเทศที่ชำระหนี้ภายในไม่ไหว จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำที่สุด หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจในทางลบต่างๆ

เมื่ออยู่ในจุดที่แย่ที่สุดโดยไม่มีทางแก้ปัญหาอื่นแล้ว รัฐบาลของแต่ละประเทศนั้นๆ ก็จะมีอำนาจการตัดสินใจต่อภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยการกู้เงินจาก IMF เพื่อนำมาเป็นเงินหมุนเวียนภายในประเทศ

ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การลงทุนทองคำนั้นส่งผลกระทบอย่างที่สุด อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่า ราคาทองคำนั้นสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจ จึงทำให้เรารู้ว่าเมื่อไหร่ที่ประเทศประกาศกู้เงินจาก IMF แสดงว่าประเทศกำลังอยู่สถานะที่แย่ และราคาทองก็พลิกราคาขึ้นสูงทันที

ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทยเราเอง ในช่วงที่ประสบปัญหาวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” จึงทำให้ประเทศไทยต้องกู้เงินจาก IMF เพื่อนำมาเป็นเงินหมุนเวียน ส่วนนักลงทุนเองก็สามารถติดตามข่าวสารต่างๆที่อาจเป็นปัจจัยให้เกิดการกู้ IMF ได้ เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการลงทุนหรือโอกาสพลิกผันของราคาทองคำนั่นเอง

และเหตุผลนี้การกู้เงินจากกองเงินทุนระหว่างประเทศที่เรียกว่า IMF จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและราคาทองคำ ดังนั้นผู้ที่จะลงทุนทองคำหรือไม่ว่าจะลงทุนอะไรก็ตาม ควรติดตามแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนของคุณเองครับ 

บทบาทหน้าที่ของ IMF ที่มีต่อประเทศไทย

วันที่ 3 พฤษภาคม 2492 ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ในลำดับที่ 44 โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นตัวแทนในกองทุนการเงิน โดยตอนนั้นประเทศไทยมีโควตาการกู้เงินอยู่ที่ 1,440.5 ล้าน SDR หรือร้อยละ 0.60 เทียบเท่ากับ 15,143 คะแนนเสียง 

SDR ที่ว่านี้ก็คือ ทรัพย์สินสำรองระหว่างประเทศที่ IMF สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนเงินสกุลดอลลาร์ในระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่ง SDR จะถูกคำนวณจากค่าเฉลี่ยตะกร้าเงินของเงินตรา 4 สกุลหลักของโลกประกอบไปด้วย ,ดอลลาร์ , เยน , ยูโร , ปอนด์ หรือดูง่ายๆว่า 1 ดอลลาร์เท่ากับ 0.71 SDR และ 1 ดอลลาร์เท่ากับ 31.14 บาทไทย ในปัจจุบัน

โดยประเทศไทยนั้นเคยได้รับการช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF ภายใต้โครงการเงินกู้ Stand-by3 รวมทั้งสิ้น 5 ครั้งด้วยกัน เป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,431 ล้าน SDR หรือประมาณ 209,806 ล้านบาท ดังนี้

- ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนกรกฏาคม ปี 2521 จำนวน 42.25 ล้าน SDR (ประมาณ 2,143 ล้านบาท)

- ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2524 จำนวน 814.5 ล้าน SDR ประมาณ 38,566 ล้านบาท(โดยเบิกถอนจริงเพียงแค่ 345 ล้าน SDR หรือประมาณ 16,336 ล้านบาท)

- ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2525 จำนวน 271.5 ล้าน SDR หรือประมาณ 12,855 ล้านบาท 

- ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2528 จำนวน 400 ล้าน SDR ประมาณ 18,915 ล้านบาท (แต่เบิกจริงเพียง 260 ล้าน SDR หรือประมาณ 12,310 ล้านบาท)

- ครั้งที่ 5 เมื่อเดือนกรกฏาคม ปี 2546 จำนวน 2,900 ล้าน SDR ประมาณ 137,314 ล้านบาท (แต่เบิกจริงแค่ 2,500 ล้าน SDR หรือประมาณ 118,374 ล้านบาท)

ซึ่งการกู้ IMF ในแต่ละครั้งหมายถึงเศรษฐกิจที่แย่สุดๆในประเทศ จึงทำให้ราคาทองคำก้าวกระโดดขึ้น และคาดการณ์จาก IMF ยังมองด้วยว่า เศรษฐกิจในไทยในปัจจุบันตกต่ำอย่างที่สุด จึงเป็นปัจจัยอีกอย่างที่ทำให้ราคาทองในไทยทำปรากฏการณ์ New High หรือราคาขึ่้นสูงสุดในช่วงเวลานั้นด้วย

คุณเองก็เริ่มต้นลงทุนในทองคำผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้ววันนี้

ในปัจจุบันนี้มีการซื้อขายทองคำผ่านช่องทางออนไลน์แล้ว ซึ่งจะทำให้คุณประหยัดเวลาในการเดินทางไปยังร้านทอง แถมยังซื้อ-ขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง สะดวก ปลอดภัยผ่าน Smartphone แค่เครื่องเดียว เราจึงอยากแนะนำแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า SBK

เพราะ SBK คือแอปพลิเคชัน ซื้อ-ขาย เทรดทองคำออนไลน์ ที่จะทำให้คุณสามารถลงทุนสร้างผลกำไรได้สะดวกสบายมากขึ้น ทั้งการซื้อ-ขาย ที่ง่ายดาย และการเทรดที่มีเครดิตพิเศษอย่าง T+3 เพื่อให้คุณเทรดสร้างผลกำไรได้ก่อน และจ่ายเงินทีหลัง

รับประกันความปลอดภัยจาก DBD กระทรวงพาณิชย์ที่ได้รับความเชื่อถือ และประสบการณ์ร้านทองกว่า 15 ปี(มีหน้าร้าน) สามารถปรึกษาได้ตลอด 24 ชม. เสมือนโบรกเกอร์ที่เป็นที่ปรึกษาในการเก็งกำไรให้คุณ คุณก็สามารถเริ่มต้นซื้อขายทองคำออนไลน์กับ SBK ได้แล้ววันนี้

เปิดบัญชีตอนนี้ ฟรี!

เพียงแค่ 3 ขั้นตอนง่ายๆ คุณก็ได้เป็นเจ้าของทองคำและแอปที่ใช้งานง่ายสุดๆ