เงินบาทผันผวนเกิดจากปัจจัยอะไร​ ? ส่งผลอย่างไรต่อการลงทุน

ราคาทองคำนั้นอิงจากราคาทองคำของดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งต้องผ่านการแลกเปลี่ยนค่าเงิน เงินบาทผันผวนจึงมีผลกระทบต่อราคาทองคำ ดังนั้นมาดูกันว่าเงินบาทผันผวน และปัจจัยที่ก่อให้เกิดนั้น มีอะไรบ้าง และส่งผลอย่างไรต่อการลงทุนทองคำของคุณ

ถ้าคุณเป็นหนึ่งในนักลงทุนเราขอแนะนำว่า คุณจำเป็นต้องให้ความสนใจกับเรื่องนี้ไม่แพ้เรื่องอื่นเลย เพราะการที่เงินบาทเกิดความผันผวน นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนแล้ว ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณด้วย

แน่นอนว่านักลงทุนอย่างคุณจำเป็นต้องติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจอยู่ตลอด เพราะทุกครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์ใดก็ตามที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจขึ้นมา มันคือสิ่งที่บ่งบอกนักลงทุนอย่างคุณถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

แต่อันที่จริงแล้วไม่ได้มีเพียงแค่นักลงทุนเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ ทุกคนบนโลกย่อมได้รับผลกระทบในทุกภาคส่วนเช่นกัน เพราะค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยนนี้มีความสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจในระดับโลกเลยทีเดียว

เพื่อเป็นการรับมือและวางแผนล่วงหน้า ในบทความนี้เราจึงอยากพาคุณมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเงินบาทผันผวนให้มากขึ้น หรือสิ่งที่เรียกกันว่าเงินบาทแข็งค่าหรือเงินบาทอ่อนค่านั่นเองครับ

เงินบาทแข็งค่าและเงินบาทอ่อนค่าคืออะไร ? 

ภาพจาก CLASSIC AUSIRIS


เงินบาทแข็งค่า คือ เงินบาทมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เราสามารถใช้เงินบาทได้น้อยลงในการแลกเปลี่ยนกับเงินสกุลอื่น เช่น ค่าเงินบาทอยู่ที่ 34 บาท/1 ดอลลาร์ และเปลี่ยนเป็น 30 บาทต่อดอลลาร์

จากเดิมก่อนหน้านี้เงิน 1 ดอลลาร์ ต้องใช้เงิน 34 บาท ในการแลกเปลี่ยน 

เปลี่ยนแปลงเป็น 1 ดอลลาร์ ต้องใช้เงิน 30 บาทในการแลกเปลี่ยน

* จะเห็นได้ว่า “มีการใช้เงินบาทน้อยลง” หรือ “เงินบาทมีค่าเพิ่มขึ้น” จึงได้ถูกเรียกว่าเป็น เงินบาทแข็งค่า


ภาพจาก CLASSIC AUSIRIS


เงินบาทอ่อนค่า คือ เงินบาทที่มีค่าลดลงเมื่อเทียบกับค่าเงินของดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เราใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเปลี่ยนกับเงินสกุลอื่น เช่น ปัจจุบันค่าเงินบาทอยู่ที่ 30 บาท/ดอลลาร์ ในอนาคตเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็น 33 บาท/ดอลลาร์ 

จากเดิมก่อนหน้านี้เงิน 1 ดอลลาร์ ต้องใช้เงิน 30 บาท ในการแลกเปลี่ยน

เปลี่ยนแปลงเป็น 1 ดอลลาร์ ต้องใช้เงิน 33 บาท ในการแลกเปลี่ยน

* จะเห็นได้ว่า “มีการใช้เงินบาทเพิ่มขึ้น” หรือ “เงินบาทมีค่าลดลง” จึงได้ถูกเรียกว่าเป็น เงินบาทอ่อนค่า


ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าและอ่อนค่า ?

การที่เงินบาทแข็งค่าและเงินบาทอ่อนค่านั้น เกิดจากความต้องการของมนุษย์เป็นหลัก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ความต้องการซื้อ (Demand) และความต้องการขาย (Supply) ซึ่งแต่ละสกุลเงินจะได้รับผลกระทบจากสิ่งต่าง ๆ เช่น ความต้องการซื้อ-ขายในประเทศ, ความต้องการลงทุน หรือแม้แต่การแข็งค่าของสกุลเงินอื่นเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

ดังนั้นปริมาณในการเสนอซื้อและการเสนอขายก็จะขยับไปตามความต้องการของมนุษย์กันซะส่วนใหญ่ โดยจะมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ ทำให้ความต้องการของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย ซึ่งจะมีสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถกำหนดปริมาณเงินบาทในระบบการเงินผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น มาตรการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง และการดำเนินการผ่านตลาดการเงิน เป็นต้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะส่งผลให้อุปสงค์และอุปทานของเงินบาทเปลี่ยนแปลงไป และทำให้ค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงตาม เช่น

- ธนาคารกลางเห็นว่าเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงเกินไป จึงกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมายเพิ่มขึ้น ทำให้เงินที่ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้มีจำนวนลดลง ส่งผลให้ปริมาณเงินบาทในประเทศลดลงตาม จึงเปรียบเสมือนกับการลดอุปทานหรือปริมาณของเงินบาท ทำให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะแข็งขึ้น

- ธนาคารกลางเห็นว่าเงินฝืดอยู่ในระดับสูงเกินไป จึงกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ลดระดับอัตราดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น เปรียบเสมือนการเพิ่มอุปทานของเงินบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลง

เมื่อประเทศไทยมีมูลค่าส่งออกมากกว่ามูลค่านำเข้า หรือมีเงินทุนเคลื่อนย้ายมาจากต่างประเทศเข้ามาภายในประเทศมาก ๆ ประเทศก็จะมีเงินดอลลาร์ฯ “มากขึ้น” เงินทุนที่ย้ายเข้ามาจะถูกแลกจากเงินดอลลาร์ฯเป็นเงินบาท ทำให้อุปสงค์หรือความต้องการเงินบาทเพิ่มขึ้นส่งผลให้เงินบาทมีค่าเพิ่มขึ้น (ค่าเงินบาทแข็งขึ้น)  

ประเทศไทยขาดดุลการค้า คือ มีมูลค่าส่งออกน้อยกว่านำเข้า หรือ มีเงินทุนเคลื่อนย้ายออกจากประเทศมากๆ ก็จะทำให้ประเทศมีเงินดอลลาร์ฯ “น้อยลง” มีความต้องการแลกเงินบาทเป็นเงินดอลลาร์ฯ เพื่อนำออกนอกประเทศมากขึ้น ส่งผลให้เงินบาทมีค่าลดลง (ค่าเงินบาทอ่อนค่า)

โดยปกติแล้วอัตราเงินทุนจะเคลื่อนไหวจากประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า ไปประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า เนื่องจากนักลงทุนมองเห็นว่าผลตอบแทนจะได้มากกว่าจากความเสี่ยงในประเภทเดียวกัน แต่ในท้ายที่สุดแล้วอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนของทั้งสองประเทศ 

เช่น หากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลง อัตราดอกเบี้ยในไทยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง จะส่งผลให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น เงินทุนที่เคลื่อนย้ายเข้ามาจะถูกแลกเป็นเงินบาท ทำให้ความต้องการซื้อเงินบาทสูงขึ้น “ค่าเงินบาทจึงแข็งค่าขึ้น”

ในทางตรงกันข้าม หากอัตราดอกเบี้ยในไทยปรับตัวลดลง อัตราดอกเบี้ยของต่างประเทศยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลให้มีเงินทุนไหลออก จึงมีความต้องการขายเงินบาทเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินดอลลาร์ฯเพิ่มขึ้น “ค่าเงินบาทจึงอ่อนค่าลง”

* และยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อค่าเงินบาท เช่น ความไม่มั่นคงทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ เป็นต้น 


แล้วค่าเงินที่เกิดการผันผวนส่งผลกระทบอย่างไรต่อการลงทุน ?

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้เลยว่าเมื่อได้เป็นนักลงทุนแล้วก็ย่อมหนีเรื่องของอัตราการแลกเปลี่ยนไม่พ้นกันทั้งสิ้น เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดกำไรขาดทุน

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการลงทุนอย่าง หุ้นชนิดต่าง ๆ  ตราสารหนี้ กองทุนรวม ก็ควรที่จะเฝ้าติดตามนโยบายภายในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามค่าเงินที่เกิดอาจเกิดการผันผวนในการแลกเปลี่ยนได้

แล้วยิ่งในปัจจุบันมีผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งภาคเศรษฐกิจของทั่วโลกได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ ไม่ว่าจะลงทุนกับอะไรก็เสี่ยงทั้งนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่จึงหันมาลงทุนทองคำที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยกันมากขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยงของตนเอง

เพราะยิ่งเศรษฐกิจแย่เท่าไหร่ ราคาทองคำก็ยิ่งปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับเศรษฐกิจ โดยปัจจุบันนั้นสามารถลงทุนทองคำออนไลน์ได้แล้ว จึงทำให้สามารถทำกำไรได้ง่ายจากราคาทองคำที่อัปเดตแบบ Real Time จึงเป็นแรงกระตุ้นทำให้เกิดนักลงทุนหน้าใหม่ที่มาลงทุนทองคำมากขึ้นด้วย เนื่องจากสามารถลงทุนทองคำได้อย่างสะดวกสบายนั่นเอง

แม้ระยะเวลาจะผ่านมานานเท่าไหร่ ทองคำยังคงถูกยกย่องให้มีค่าเสมอ เนื่องจากทองคำนั้นมีอยู่จำกัดบนโลก จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่าสินทรัพย์ Safe Haven


สรุปทั้งหมด

การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท กลายเป็นประเด็นที่สังคมและนักลงทุนกลับมาให้ความสนใจอย่างมาก ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ทำให้ทุกคนก็ต่างก็รอคอยนโยบายต่าง ๆ ที่มีโอกาสปรับเปลี่ยนแนวทางของเศรษฐกิจ

ซึ่งเรื่องนี้ทุกคนน่าจะเห็นภาพรวมเหมือนกันตรงแล้วว่า กว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้นั้นคงต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควร สิ่งที่น่าสนใจของการลงทุนจึงไม่ได้เน้นที่การทำกำไรกันเสียทีเดียว แต่ใครก็ตามที่สามารถปรับตัวหันมาลงทุนกับสินทรัพย์ปลอดภัยได้ก่อน ก็ถือว่าเป็นการประกันความเสี่ยงของตัวเองและมีโอกาสกอบโกยกำไรได้ดีที่สุด

เปิดบัญชีตอนนี้ ฟรี!

เพียงแค่ 3 ขั้นตอนง่ายๆ คุณก็ได้เป็นเจ้าของทองคำและแอปที่ใช้งานง่ายสุดๆ