Trilemma คืออะไร ? บอกเหตุผลที่คุณควรเข้าใจนโยบายการเงินก่อนเริ่มลงทุนทองคำ

Trilemma คืออะไร? มีผลต่อแนวโน้มราคาทองคำอย่างไรจากนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย ทำไมถึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนทองคำอย่างคุณ"ต้องทราบ"

ในปัจจุบันการลงทุนไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกไป ยิ่งหากท่านเป็นคนที่มีเป้าหมายอยากจะมีอิสรเสรีภาพทางการเงินในอนาคตแล้วนั้น การลงทุนสามารถช่วยสร้างผลตอบแทนให้งอกเงยมากกว่าการนำเงินไปฝากธนาคารรอรับดอกเบี้ยอันน้อยนิด หรือแม้แต่พันธบัตรรัฐบาลก็ยังไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงพอตามความคาดหวังเผลอ ๆ อัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีนั้นยังมากกว่าผลตอบแทนที่ได้รับ

ยิ่งในสมัยนี้การลงทุนมีหลายประเภทให้เลือกสรรตามความต้องการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้น กองทุน อสังหาริมทรัพย์ คริปโต หรือแม้กระทั่งทองคำ แต่อย่างไรก็ตามการลงทุนนั้นควรศึกษาข้อมูลของแต่ละทางเลือกอย่างละเอียดก่อนเริ่มตัดสินใจลงทุน โดยเฉพาะทองคำนั้นที่จำเป็นต้องมีความเข้าใจสถานการณ์ความเป็นไปของโลก ยกตัวอย่างเช่น อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินของประเทศ อัตราเงินเฟ้อ กลไกตลาดอุปสงค์-อุปทานของทองคำ แนวโน้มของสถานการณ์ที่อาจสร้างความเสี่ยงต่อสินทรัพย์ต่าง ๆ และที่ขาดไม่ได้เลยคือนโยบายการเงินของประเทศ

Trilemma คืออะไร?  มีผลต่อแนวโน้มราคาทองคำอย่างไรจากนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย

ทฤษฎี ‘Trilemma’ หรือที่บางท่านอาจจะรู้จักกันในชื่อ ‘Impossible Trinity’ อาจจะพอคุ้นหูมาบ้างสำหรับใครที่เคยศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การเงิน ทฤษฎีนี้ถูกคิดค้นขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1960 - 1963 โดยนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง 2 ท่าน ได้แก่ คุณโรเบิร์ต มันเดลล์ (Robert Mundell) และ คุณมาร์คัส เฟลมมิง (Marcus Fleming) ซึ่งได้กล่าวถึง 3 เครื่องมือทางการเงินของแต่ละประเทศที่ไม่สามารถใช้พร้อมกันได้ ประกอบไปด้วย

1. อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate)

การใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่เราอาจจะไม่ค่อยเห็นกันในทุกวันนี้แล้วแต่ยังคงมีอยู่ไม่กี่ประเทศ ได้แก่ สหรัฐเขตปกครองพิเศษฮ่องกง จีน อาหรับเอมิเรตส์ บรูไน ซาอุดีอาระเบีย และเดนมาร์ก การที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่คือการที่นำค่าเงินของตัวเองไปยึดกับค่าเงินของอีกประเทศหนึ่ง ส่งผลให้ไม่มีการอ่อนค่าหรือแข็งค่าของค่าเงิน

2. การอนุญาตให้เคลื่อนย้ายเงินทุนแบบเสรี (Free Capital Flows)

เมื่อไม่มีการปิดกั้นด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุน ส่งผลให้เม็ดเงินสามารถเคลื่อนย้ายเข้าหรือออกจากประเทศได้อย่างอิสระ โดยเฉพาะเรื่องการลงทุนข้ามชาติ (Foreign Investment) ทั้งการเข้ามาลงทุนทางตรงอย่างจัดตั้งฐานการผลิต หรือเข้ามาเปิดบริษัท หรือการลงทุนทางอ้อมอย่างเข้ามาถือหุ้นบริษัทแทน

3. การกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระ (Independent Monetary Policy)

เป็นการใช้เครื่องมืออัตราดอกเบี้ยนโยบายในการควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ โดยจะใช้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ประชาชนออกมาใช้จ่ายมากขึ้น หรือการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอเศรษฐกิจลดอัตราเงินเฟ้อรุนแรงที่มากกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ของประเทศ

Trilemma เหตุผลที่ทำไมคุณควรเข้าใจนโยบายการเงินก่อนเริ่มลงทุนทองคำ

นโยบายการเงิน (Monetary Policy) นั้นเป็นนโยบายที่ถูกกำหนดโดยธนาคารกลางในการควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบายและดูแลเงินตราระหว่างประเทศให้มีเสถียรภาพ แต่การกำหนดนโยบายนั้นก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการมีเสถียรภาพทางด้านราคา กระตุ้นการจ้างงาน ควบคุมสมดุลของดุลการชำระเงิน และการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ GDP เติบโต จะเห็นได้ว่านโยบายการเงินของธนาคารกลางนั้นค่อนข้างส่งผลกระทบต่อปัจจัยที่กำหนดราคาทองคำ

จาก 3 เครื่องมือที่ได้กล่าวไปข้างต้น ไม่สามารถใช้เครื่องมือทั้งหมดพร้อมกันได้ เพราะเงื่อนไขการใช้เครื่องมือจะขัดแย้งกันเองจนนำไปสู่ผลกระทบที่ร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจหรือเกิด Trilemma ทำให้ธนาคารกลางสามารถเลือกเครื่องมือได้เพียง 2 ใน 3 เท่านั้น โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 เหตุการณ์ ประกอบไปด้วย

แต่ธนาคารกลางจะไม่มีอิสระในการกำหนดนโยบายทางการเงิน ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มประเทศใน EU (European Union) ที่จะใช้เงินสกุลยูโรเช่นเดียวกันทั้งหมด อีกทั้งยังเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศสมาชิก แต่ส่งผลให้สูญเสียความสามารถของธนาคารกลางประเทศตัวเองในการกำกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ควบคุมเงินในระบบเศรษฐกิจ ที่ต้องอิงนโยบายการเงินตามธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรปแทน จนประสบวิกฤติหนี้สาธารณะอย่างประเทศกรีซ

แต่จะไม่สามารถเคลื่อนย้ายเงินทุนได้แบบเสรี ยกตัวอย่างเช่น ประเทศจีน ที่กำหนดค่าเงินหยวนของตัวเองให้อ่อนหรือแข็งค่าขึ้นด้วยนโยบายการเงินที่เสรี แต่จะมีการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเข้มงวดทั้งเข้าและออกจากประเทศ แต่อย่างไรก็ตามการใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ต้องและมาต้องการดูแลเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เข้มงวดเป็นอย่างมากถึงจะประสบความสำเร็จ

โดยปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวผันผวนตามกลไกตลาด วิธีนี้เป็นวิธีที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุนแบบทุนนิยมที่หลายประเทศทั่วโลกใช้เพื่อดึงดูดเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา หรือประเทศไทยเอง แต่วิธีนี้หากเกิดความผันผวนของค่าเงินที่อ่อนค่าหรือแข็งค่าและเริ่มส่งผลกระทบเชิงลบแก่ระบบเศรษฐกิจมากเกินไป ธนาคารกลางของประเทศจะทำการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนไว้

ทำไม Trilemma ถึงกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจจนทำให้ราคาทองคำดีดตัวพุ่งทะยาน

ตัวอย่างการเกิดโศกนาฏกรรมวิกฤตเศรษฐกิจ Trilemma ที่เราทราบกันดีอย่างวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี พ.ศ. 2540 ที่ขณะนั้นประเทศไทยได้ทำการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ผูกค่าเงินบาทไว้กับดอลลาร์สหรัฐ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 25 บาท อีกทั้งยังปล่อยให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนเป็นไปอย่างเสรีจากการจัดตั้ง ‘กิจการวิเทศธนกิจ’ (Bangkok International Banking Facilities : BIBF) ในการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ เพื่อที่จะได้กลายเป็นศูนย์กลางด้านการเงินแบบฮ่องกงในปี พ.ศ. 2536

ซึ่งในช่วงนั้น ประเทศไทยได้สร้างการเติบโตของ GDP อย่างพุ่งกระฉูดมากกว่า 10% ต่อปี จนทั้งโลกหันมาจับตามองและได้มีนักลงทุนข้ามชาติเข้ามาปล่อยกู้เงินให้แก่ประเทศไทยมากยิ่งขึ้น นักลงทุนในไทยหลายคนเองก็เริ่มหันมากู้เงินเพื่อนำไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์กันยกใหญ่ แต่ด้วยเหตุนี้เองส่งผลให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมากเกินไป จนธนาคารกลางได้ออกมาประกาศนโยบายเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดปริมาณกระแสเงินที่ไหลเวียนอยู่ในเศรษฐกิจ

แต่ตราบใดที่อัตราแลกเปลี่ยนยังคงที่ทำให้คนไทยยังกู้เงินเพื่อลงทุนอสังหาริมทรัพย์และการลงทุนด้านอื่น ๆ ต่อไปจนเกิดเหตุการณ์โจมตีค่าเงินบาทจากนักเก็งกำไรต่างประเทศจนเงินทุนสำรองไม่เพียงพอที่จะแบกรับส่วนต่างของค่าเงินที่แท้จริงได้อีกต่อไป ส่งผลให้ธนาคารกลางประกาศใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวเพียงชั่วข้ามคืน จาก 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐกลายเป็น 40 บาท ซึ่งสูงขึ้นมาเกือบเท่าตัว จนทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยพังทั้งระบบโดยทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์ และตลาดหุ้นอย่าง SET ก็ปรับตัวจาก 1,789 เหลือเพียง 204 ซึ่งหากกู้เงินจากต่างประเทศส่งผลให้จำนวนหนี้ที่ต้องชำระนั้นถูกทวีคูณไปเท่าตัวเลยทีเดียว

ถึงแม้ว่าจะทำให้ใครหลายคนต้องสูญเสียมูลค่าจากการลงทุนไปจำนวนมาก แต่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้กำไรอย่างมหาศาลจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ คือเหล่าผู้คนที่ได้ลงทุนในทองคำที่ราคาทองคำขณะก่อนเกิดวิกฤตอยู่ที่ 4,000 บาท ภายหลังวิกฤตได้ปรับตัวพุ่งสูงเกือบเท่าตัวเป็น 7,100 บาท นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายวิกฤตที่พาราคาทองคำทะยานปรับตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี พ.ศ. 2543 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวขึ้นเป็น 19,500 บาท วิกฤตเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซนในปี พ.ศ. 2545 ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นเป็น 27,130 บาท หรือแม้กระทั่งสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ที่ผ่านมาส่งผลให้ราคาปรับตัวขึ้นแตะระดับ 30,850 บาท

จากการที่ราคาของทองคำนั้นถูกกำหนดด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นอัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ กลไกตลาด แนวโน้มความเสี่ยงต่อสินทรัพย์ และนโยบายการเงินของประเทศ ด้วยเหตุผลเหล่านี้การเข้าใจในนโยบายการเงินของประเทศจึงจำเป็นต่อการลงทุนทองคำนั่นเอง

เริ่มต้นเสริมพอร์ตลงทุนให้แข็งแกร่งมากขึ้นจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ด้วยการลงทุนทองคำ

ทองคำถือว่าเป็นสินทรัพย์ Safe Haven ที่ควรมีติดตัวไว้ มีมูลค่าสูงตลอดกาล มีความเป็นสากล ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุ้มค่า โดยเฉพาะในช่วงที่สถานการณ์ไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจ ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่จะกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนแบ่งมาถือสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง และมีความคล่องตัวในการซื้อขายที่ใกล้เคียงกับการถือเงินสดมากที่สุด

หากท่านเริ่มมีความสนใจที่จะลงทุนในทองคำแท่งแล้ว สามารถเริ่มต้นซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์ได้ผ่านแอปพลิเคชัน SBK Gold ที่ใช้งานง่าย มอบความสะดวกสบายในการซื้อขายได้ทันที ปลอดภัย 100% ด้วยประสบการณ์ดูแลร้านทองมาอย่างยาวนานมากกว่า 15 ปี อยู่ที่ไหนก็ซื้อขายคล่องและไม่พลาดกับทุกราคาทองคำที่ดีที่สุดตลอด 24 ชั่วโมง สมัครได้แล้วที่นี่ เพื่อเริ่มต้นเสริมพอร์ตการลงทุนของท่านให้มั่นคงกว่าเดิม

เปิดบัญชีตอนนี้ ฟรี!

เพียงแค่ 3 ขั้นตอนง่ายๆ คุณก็ได้เป็นเจ้าของทองคำและแอปที่ใช้งานง่ายสุดๆ