ผลกระทบของ ‘มาตรการ QE’ เหตุผลที่นักลงทุนทองคำควรจับตามองความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด

เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะซบเซาจนธนาคารกลางได้ประการใช้ ‘มาตรการ QE’ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แล้วมาตรการ QE คืออะไร? เกี่ยวข้องกับราคาทองคำอย่างไร? และเหตุผลสำคัญที่นักลงทุนทองคำต้องติดตามเป็นพิเศษ ไปทำความรู้จักผลกระทบของมาตรการ QE นี้กันต่อได้เลย

ทองคำเป็นอีกหนึ่งแร่ธาตุจากธรรมชาติที่ถูกใช้ประโยชน์มาอย่างช้านานตั้งแต่ช่วงก่อนปีคริสต์ศักราช และยังเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงความมั่งคั่งและความรุ่งเรือง จนถูกนำมาใช้เป็นเงินตราแลกเปลี่ยนสิ่งของ และได้พัฒนามาเป็นระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard) ในระบบการเงินระหว่างประเทศที่นำค่าเงินตราไปผูกไว้กับทองคำ

แม้ปัจจุบันระบบมาตรฐานทองคำได้ถูกยกเลิก และแทนที่ด้วยการผูกติดอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตราของประเทศเข้ากับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแล้วก็ตาม แต่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศยังคงสำรองสินทรัพย์อย่างทองคำเป็นทุนสำรองเงินตราเพื่อใช้เป็นหลักประกันในการออกธนบัตรที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ ด้วยความหายากของทองคำส่งผลให้ปริมาณอุปทานของทองคำนั้นมีอยู่อย่างจำกัดจึงยังคงเป็นสินทรัพย์อันมีค่าที่มูลค่าไม่เสื่อมคลาย อีกทั้งยังเป็นสินทรัพย์ที่หลายท่านถือไว้ใช้ป้องกันเงินเฟ้อในพอร์ตการลงทุน (Safe Haven)

ยิ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของวิกฤติ Covid-19 ที่มีศูนย์กลางการแพร่ระบาดมาจากประเทศจีน ที่แพร่กระจายไปยังทั่วโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะซบเซา แม้จะไม่ถึงขั้น Great Depression แต่ก็ทำให้อุตสาหกรรมแต่ละภาคส่วนได้หยุดชะงักไป ทำให้ธนาคารของหลายประเทศเลือกที่จะใช้ ’มาตรการ QE’ หรือ ‘Quantitative Easing’ กระตุ้นเศรษฐกิจ แล้วผลกระทบของ ’มาตรการ QE’ เกี่ยวข้องกับราคาทองคำอย่างไร ทำไมนักลงทุนทองคำถึงควรให้ความสนใจและติดตามมาตรการนี้อย่างใกล้ชิด เราจะพาท่านไปหาคำตอบกัน

‘มาตรการ QE’ หรือ ‘Quantitative Easing’ คืออะไร? 

‘มาตรการ QE’ หรือชื่อเต็มคือ Quantitative Easing คือ นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายอย่างหนึ่งของธนาคารกลางแต่ละประเทศ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่เศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะซบเซา ผ่านการเข้าซื้อตราสารหนี้หรือสินทรัพย์ต่าง ๆ ของภาคพาณิชย์และรัฐบาล หรือการเข้าถือพันธบัตรของรัฐบาล ส่งผลให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นให้เข้าสู่อัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ตั้งไว้

โดยทางกลไกของเครื่องมือนี้จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร (Bond Yield) ให้ผลตอบแทนที่ลดลง ซึ่งหากมองในมุมมองของภาครัฐ การทำมาตรการ QE จะช่วยให้หนี้สินที่ภาครัฐต้องแบกรับในการคืนผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือพันธบัตรลดลงตามไปด้วย ซึ่งเป็นอีกวิธีที่หลายประเทศเลือกใช้แทนที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของธุรกิจและควบคุมได้ยากกว่า ต่างจากการใช้มาตรการ QE ที่สามารถอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบได้ตามกรอบปริมาณเงินที่ต้องการ

การใช้มาตรการ QE นี้เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ 1990 หรือที่เรียกกันว่า Lost Decade เดิมทีก่อนวิกฤติเศรษฐกิจนี้ ประเทศญี่ปุ่นได้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมระดับแนวหน้า ตลาดส่งออกเติบโตพุ่งทะยาน มี GDP per Capta หรือ GDP ต่อหัวที่สูงที่สุดในโลก แต่ความมั่งคั่งนี้อยู่ไม่นาน เนื่องจากเกิดวิกฤติทางด้านอสังหาริมทรัพย์ ตลาดหุ้น และการบริหารอื่น ๆ เกิดวิกฤติสินเชื่อ (Credit Cruch) และเริ่มส่งสัญญาณฟองสบู่แตกจึงประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 

แม้ในภายหลังจะพยายามกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจกลับมาด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแต่ก็ติดอยู่ในกับดักสภาพคล่อง (Liquidity Trap) ไปเสียแล้ว ส่งผลให้ช่วงปี ค.ศ. 1991 ถึง  ค.ศ.2003 อัตราการเติบโตของ GDP ลดลงจนเหลือ 1.14% ต่อปี

แต่ทางประเทศญี่ปุ่นจะมีความพยายามในการอัดฉีดเม็ดเงินกลับเข้าไปด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและนโยบายการคลังต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่เป็นผล จนในที่สุดธนาคารกลางประเทศญี่ปุ่นได้เลือกที่จะใช้มาตรการ QE เพื่ออัดฉีดเงินให้ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ให้สามารถมีเงินทุนในการปล่อยสินเชื่อกู้ยืมให้แก่ธุรกิจได้กลับมาฟื้นตัวเป็นปกติ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ใช้เวลากว่าเกือบ 2 ทศวรรษกว่าที่ประเทศญี่ปุ่นจะกลับมาเติบโตเหมือนปัจจุบัน

กราฟเส้นแสดงอัตราการเติบโตของ GDP ของประเทศญี่ปุ่น ช่วงปี ค.ศ. 1980 ถึง ปี ค.ศ. 2020 รูปภาพจาก : tradingeconomics


ผลกระทบจากการใช้มาตรการ QE ของประเทศสหรัฐอเมริกาต่อราคาทองคำและตลาดหุ้นโลก

กลับมาที่สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน หากท่านได้ติดตามข่าวสารหรือบทวิเคราะห์ทองคำต่าง ๆ อาจจะพอทราบว่า FED หรือธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้อัดฉีดปริมาณเงินเข้าสู่ระบบจำนวนมากตั้งแต่ Covid-19 ได้ทำให้ตลาดหุ้นดิ่งลง โดยในปี ค.ศ. 2019 ได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบไปแล้ว 3.9 ล้านล้านดอลลาร์ (ประมาณ 131 ล้านล้านบาท) และในปี ค.ศ. 2020 ที่ผ่านมาได้อีก 6.9 ล้านล้านดอลลาร์ (ประมาณ 228 ล้านล้านบาท) ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้รัฐและเอกชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อและการจ้างงาน

ความน่ากลัวของการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบของประเทศสหรัฐอเมริกาคือความสามารถในการพิมพ์เงินเข้าสู่ระบบเพิ่ม โดยไม่ต้องใช้ทองคำ การอัดฉีดเงินเข้าระบบนี้ จึงส่งผลให้สินทรัพย์การเงินต่าง ๆ ปรับตัวขึ้น เกิด ‘Assest Price Inflation’ โดยเฉพาะสินทรัพย์ Safe Haven อย่างทองคำ จากการที่ค่าเงินดอลลาร์มีสัญญาณอ่อนค่า นักลงทุนส่วนใหญ่จึงได้ปรับพอร์ตการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงและมาถือสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำแทน ทำให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น รวมกับแรงหนุนทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่เข้าสู่ภาวะซบเซา

ทิศทางของราคาทองคำ หากประเทศไทยใช้มาตรการ QE

หากสมมติว่ารัฐบาลไทยจะไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากพิษ Covid-19 ได้อีกต่อไป หรือต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยพึ่งเครื่องมืออัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางให้ลดลงกว่าเดิม ซึ่งโดยปกติหากดอกเบี้ยนโยบายลดลงถึง 0% ธนาคารกลางของแต่ละประเทศถึงเลือกที่จะใช้มาตรการ QE เข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

แม้ในปัจจุบันประเทศไทยนั้นทางธนาคารกลางได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 0.5% ซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในประวัติการณ์ อีกทั้งยังขาดสภาพคล่องในระดับสูง ซึ่งแม้ว่าประเทศไทยเลือกที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินลงไปมากกว่านี้ก็อาจจะไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวกลับมาได้และตกอยู่ในกับดักสภาพคล่องเช่นเดียวกันกับประเทศญี่ปุ่นที่ต้องใช้ระยะเวลาฟื้นฟูเกือบ 20 ปี เนื่องจากขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

นอกจากนี้ หากภาคการส่งออกไม่สามารถฟื้นฟูและกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจกลับมาได้อาจนำไปสู่ค่าเงินบาทอ่อนค่า จนทำให้นักลงทุนไทยถอนการลงทุนในตลาดการเงินของประเทศ และเปลี่ยนไปถือสินทรัพย์อย่างทองคำจนเกิดอุปสงค์ทองคำจำนวนมากและดันราคาทองคำสูงขึ้นเหมือนในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งหรือแม้แต่ช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ดันราคาทองคำแตะบาทละ 30,000 บาท นั่นเอง

เริ่มต้นลงทุนทองคำแท่งออนไลน์ สะดวกสบายผ่าน SBK-Gold

มาตรการ QE เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการเงินที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะการใช้มาตรการ QE ของ FED หรือธนาคารกลางประเทศสหรัฐอเมริกาที่นักลงทุนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ เนื่องจากการประกาศใช้มาตรการ QE ของ FED ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินทั่วโลกซึ่งเป็นตัวแปรหนึ่งที่ส่งผลต่อราคาทองคำ ซึ่งข่าวที่น่ายินดีต่อนักลงทุนทองคำที่จะทำกำไรจากเหตุการณ์นี้

หากท่านต้องการซื้อขายเพื่อลงทุนทองคำแท่งออนไลน์แบบ Realtime ให้ SBK-Gold แอปพลิเคชันซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์เป็นตัวช่วยเพิ่มความมั่งคั่งของท่าน สะดวกสบายใช้งานง่าย เทรด ณ ราคาทองคำที่ดีที่สุดได้ทันที พร้อมระบบยืนยันตัวตนปลอดภัย 100% พร้อมทีมงานที่มีประสบการณ์ในแวดวงทองคำคอยให้คำแนะนำโดยเฉพาะ เริ่มต้นให้เราช่วยดูแลความมั่งคั่งได้แล้วที่นี่

Source

Intelligent-partnership, bot, .investopedia, dpim.go, managementstudyguide

เปิดบัญชีตอนนี้ ฟรี!

เพียงแค่ 3 ขั้นตอนง่ายๆ คุณก็ได้เป็นเจ้าของทองคำและแอปที่ใช้งานง่ายสุดๆ